สาเหตุฉีดฟิลเลอร์ปากแล้วเป็นก้อน พร้อมวิธีการแก้ไข

การปรับรูปปากให้กระชับสวยงามขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ ด้วยการฉีดฉีดฟิลเลอร์ปากเป็นวิธีที่เห็นผลลัพธ์ได้ชัดเจนและรวดเร็ว จึงเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน แต่หลายคนกลัวฉีดฟิลเลอร์ปากเป็นก้อน ซึ่งมีปัจจัยหลายอย่างที่อาจทำให้ฟิลเลอร์จับตัวกันเป็นก้อน เช่น คุณภาพของตัวฟิลเลอร์ ปริมาณฟิลเลอร์ที่ใช้ และปัจจัยอื่น ๆ มีอะไรกันบ้าง รวมทั้งมีวิธีแก้อย่างไรนั้น บทความนี้มีคำตอบ

4 สาเหตุฉีดฟิลเลอร์ปากแล้วเป็นก้อน

การฉีดฟิลเลอร์ปากเป็นหนึ่งในเทคนิคทางการแพทย์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากสามารถปรับแต่งรูปทรงปากให้สวยงามและเหมาะกับโครงหน้าได้ อีกที่เป็นวิธีที่เห็นการเปลี่ยนแปลงทันทีโดยไม่ต้องพักฟื้น จึงทำให้ดึงดูดความสนใจอย่างมาก แต่ปัญหาที่พบบ่อยไม่แพ้กันเลยก็คือ ฉีดฟิลเลอร์ปากบวมเป็นก้อน ซึ่งสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ดังนี้

1.คุณภาพของฟิลเลอร์ที่ใช้

การเลือกใช้เนื้อฟิลเลอร์เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ปากบวมเป็นก้อน เนื่องจากตำแหน่งของปากเป็นบริเวณที่มีการขยับบ่อย จึงต้องใช้ฟิลเลอร์ที่มีความยืดหยุ่นสูง เพราะหากใช้ฟิลเลอร์ที่มีเนื้อแข็ง จะทำให้ปากแข็ง ดูไม่เป็นธรรมชาติ ฟิลเลอร์จับตัวเป็นก้อนได้เวลาขยับ ดังนั้นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเลือกยี่ห้อฟิลเลอร์ที่ได้รับมาตรฐานมาใช้ให้เหมาะในแต่ละเคส

2.ปริมาณของฟิลเลอร์ที่ไม่สมดุล

ปริมาณฟิลเลอร์ที่ไม่สมดุลหรือมากเกินไป จะทำให้เนื้อฟิลเลอร์จับตัวเป็นก่อน อีกทั้งยังทำให้รูปทรงปากเสีย ปากบวมใหญ่ ปากเจ่อเกินความพอดี ส่งผลต่อโครงสร้างของใบหน้าได้ ปริมาณ 1 CC ก็เพียงพอต่อการทำฟิลเลอร์รูปปาก ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะใช้กันประมาณนี้ แต่ในกรณีต้องการเพิ่มวอลลุ่มก็อาจจะต้องใช้ถึง 2 CC อย่างไรก็ตามหมอจะพิจารณาความเหมาะสมเป็นรายบุคคล ดังนั้น หากเป็นหมอที่ขาดประสบการณ์ อาจจะตัดสินใจผิดในเรื่องปริมาณและคุณภาพของฟิลเลอร์

3.แพทย์ขาดประสบการณ์

ผลลัพธ์จะออกมาดีหรือแย่ ประสบการณ์ของแพทย์ถือเป็นหัวใจสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจเลือกยี่ห้อฟิลเลอร์หรือปริมาณที่เหมาะสม และการลงมือฉีด เป็นต้น ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแพทย์ทั้งนั้น บริเวณปากมีความละเอียดอ่อนอย่างมาก ดังนั้นหากเกิดความผิดพลาดเพียงเล็กน้อย เช่น ฉีดตื้นเกินไปจนไม่ได้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม จะทำให้เนื้อฟิลเลอร์จับตัวกันเป็นก้อน ซึ่งแพทย์ต้องมีทักษะมากพอในการฉีดฟิลเลอร์ปากที่ถูกต้อง เพื่อลดความเสี่ยงในการที่ฟิลเลอร์จะอุดตัน ได้รูปปากสวยงามที่มาพร้อมกับความปลอดภัย

4.ใช้ฟิลเลอร์ปลอม

สิ่งที่ต้องระวังให้ดีคือ การใช้ฟิลเลอร์ปลอมในการทำฟิลเลอร์ปาก เพราะนอกจากทำให้ผลลัพธ์ออกมาไม่สวยเพราะความแตกต่างของเนื้อฟิลเลอร์แล้ว หากเกิดความผิดพลาดที่ต้องแก้ไข ฟิลเลอร์ปลอมจะไม่สามารถฉีดสลายได้ จึงควรศึกษารายละเอียดให้ดีก่อนไปฉีดฟิลเลอร์

แนวทางการแก้ไขฟิลเลอร์ปากเป็นก้อน

หากหลังจาก 14 วันแล้ว อาการบวมต่าง ๆ ยังไม่ยุบหายไป อาจเกิดอาการอักเสบ หรือฟิลเลอร์จับตัวเป็นก้อน ควรไปพบแพทย์ทันที ในกรณีที่ฉีดฟิลเลอร์ปากเป็นก้อน ถ้าฉีดด้วยฟิลเลอร์แท้ผ่านมาตรฐาน อย. ยังคงสามารถใช้ เอ็นไซม์ไฮยาลูโรนิเดส (Hyaluronidase : HYAL) ฉีดตัวฟิลเลอร์ เพื่อทำการสลายอีกครั้งได้ ซึ่งสามารถทำลายการยึดเกาะของเนื้อฟิลเลอร์ ทำให้ผิวกลับมาเป็นเหมือนเดิม

หลังจากฉีด Hyaluronidase : HYAL 15-20 นาทีฟิลเลอร์จะค่อย ๆ ยุบตัวลง และสลายออกไปทั้งหมด หากมีการตกค้างหมอจะพิจารณาอาการอีกครั้ง อาจมีการฉีดซ้ำในกรณีที่ฟิลเลอร์ยังสลายไม่หมด 

ในกรณีที่ใช้ฟิลเลอร์ไม่แท้แล้วเป็นก้อนแพทย์จะต้องพิจารณาตามอาการแต่ละเคสไป เพราะไม่สามารถฉีดสลายฟิลเลอร์ได้ อาจต้องทำการขูดออกหรือผ่าตัด ออก ดังนั้น ควรระวังและหาข้อมูลให้ละเอียดก่อนฉีดฟิลเลอร์

สรุป สาเหตุฉีดฟิลเลอร์ปากแล้วเป็นก้อน พร้อมวิธีการแก้ไข

การฉีดฟิลเลอร์นั้นมีความเสี่ยง หากไม่ศึกษาข้อมูลให้ละเอียด เพราะปัจจัยสำคัญอย่าง ความเชี่ยวชาญของแพทย์ การเลือกใช้ยี่ห้อฟิลเลอร์ที่มีคุณภาพ และการใช้ปริมาณฟิลเลอร์ที่พอดี สิ่งเหล่านี้มีผลต่อการฉีดฟิลเลอร์ปากแล้วเป็นก้อนทั้งนั้น เพื่อผลลัพธ์ที่สวยงามอย่างเป็นธรรมชาติ และเพื่อความปลอดภัย ควรเลือกคลินิกและแพทย์ที่ความน่าเชื่อถือ และมีประสบการณ์ด้านการฉีดฟิลเลอร์ปรับรูปหน้าโดยตรง

เรื่องล่าสุด